การใช้แบบฝึกเชิงสถานการณ์ประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาด สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อเรื่องการค้นคว้าอิสระการใช้แบบฝึกเชิงสถานการณ์ประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาด สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ผู้เขียนกมลวรรณ กลิ่นประทุมย์
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้)
อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระอาจารย์ ดร.พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์
ปีที่เผยแพร่2567
วันที่เผยแพร่14 มีนาคม 2567

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการก่อนและหลังใช้แบบฝึกเชิงสถานการณ์ประกอบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาด ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้แบบฝึกเชิงสถานการณ์ประกอบการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการใช้แบบฝึกเชิงสถานการณ์ประกอบการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประชากร คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 27 คน เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเชิงสถานการณ์ และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลพัฒนาการด้วย คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา 1. ผลการศึกษาพัฒนาการสัมพัทธ์ เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาด ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้แบบฝึกเชิงสถานการณ์ประกอบการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (80.72) โดยนักศึกษามีพัฒนาการสัมพัทธ์ระดับสูงมาก จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 65.00 และนักศึกษามีพัฒนาการสัมพัทธ์ระดับสูงจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 35.00 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาด ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้แบบฝึกเชิงสถานการณ์ประกอบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า แบบฝึกเชิงสถานการณ์ที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 15.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.33 รองลงมาเป็นแบบฝึกเชิงสถานการณ์ที่ 7 มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 15.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.66 และแบบฝึกเชิงสถานการณ์ที่ 2 และ 5 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 14.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.77 3. ผลการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการใช้แบบฝึกเชิงสถานการณ์ประกอบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด