การใช้แบบฝึกทักษะความคล่องตัวของระบบนิ้วในการเรียนรู้การปฏิบัติฟลูต โดยการประยุกต์ใช้ตามแนวทางของ เทรเวอร์ วาย สำหรับนักเรียนวงโยธวาทิต ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน

ชื่อเรื่องการค้นคว้าอิสระการใช้แบบฝึกทักษะความคล่องตัวของระบบนิ้วในการเรียนรู้การปฏิบัติฟลูต โดยการประยุกต์ใช้ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย สำหรับนักเรียนวงโยธวาทิต ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน
ผู้เขียนจารุณ พลเดช
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้)
อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระอาจารย์ ดร.เจตนา เมืองมูล
ปีที่เผยแพร่2567
วันที่เผยแพร่8 มีนาคม 2567

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะความคล่องตัวของระบบนิ้วก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะความคล่องตัวของระบบนิ้วในการเรียนรู้การปฏิบัติฟลูตโดยการประยุกต์ใช้ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย สำหรับนักเรียนวงโยธวาทิตระดับมัธยมศึกษา
โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะความคล่องตัวของระบบนิ้วในการเรียนรู้การปฏิบัติฟลูตโดยการประยุกต์ใช้ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย สำหรับนักเรียนวงโยธวาทิตระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจักรคำคณาทร
จังหวัดลำพูน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 10 คน แยกเป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานการปฏิบัติฟลูต จำนวน 5 คน และกลุ่มที่ไม่มีพื้นฐานในการปฏิบัติฟลูต จำนวน 5 คน ที่ปฏิบัติฟลูตในชุมนุมวงโยธวาทิตโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่
ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย (1) แบบฝึกทักษะความคล่องตัวของระบบนิ้วในการเรียนรู้การปฏิบัติฟลูตโดยการประยุกต์ใช้ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย (2) แผนการจัดการเรียนรู้และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะความคล่องตัวของระบบนิ้วในการเรียนรู้การปฏิบัติฟลูตโดยการประยุกต์ใช้ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย ผู้ศึกษารวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์สรุปได้ว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่มีพื้นฐานในการปฏิบัติฟลูต และกลุ่มที่ไม่มีพื้นฐานในการปฏิบัติฟลูตมีคะแนนการประเมินทักษะความคล่องตัวของระบบนิ้วก่อนการใช้แบบฝึกทักษะภาพรวมของทั้ง 2 กลุ่มอยู่ในระดับปรับปรุง และหลังการใช้แบบฝึกทักษะภาพรวมของทั้ง 2 กลุ่มอยู่ในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบการใช้แบบฝึกทักษะหลังการใช้สูงกว่าก่อนการใช้ โดยมีความก้าวหน้า 9.30 คะแนนและมีคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ 84.14 อยู่ในระดับสูงมาก และ 2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะความคล่องตัวของระบบนิ้วในการเรียนรู้การปฏิบัติฟลูตโดยการประยุกต์ใช้ตามแนวทางของเทรเวอร์ วาย มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด