การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับเกม เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องส่วนประกอบของพืช ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดช่างคำ จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อเรื่องการค้นคว้าอิสระการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับเกม เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องส่วนประกอบของพืช ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดช่างคำ จังหวัดเชียงใหม่
ผู้เขียนจุไรมาศ ฉัตรสุวรรณ
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้)
อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระอาจารย์ ดร.ประพิณ ขอดแก้ว
ปีที่เผยแพร่2567
วันที่เผยแพร่14 มีนาคม 2567

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเกม เรื่องส่วนประกอบของพืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดช่างคำ จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดช่างคำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.)แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับเกม เรื่องส่วนประกอบของพืช โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับเกม 2.) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับเกม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1.) ผลการศึกษาผลการเรียนรู้ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเกม โดยสรุปในภาพรวมก่อนเรียนคะแนนคิดเป็นร้อยละ 37.06มีคุณภาพอยู่ในระดับปรับปรุง (µ = 0.37, = σ 0.48) 2.) ผลการศึกษาผลการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเกม โดยสรุปในภาพรวมหลังเรียน คะแนนคิดเป็นร้อยละ 85.29 มีคุณภาพอยู ่ในระดับดีมาก (µ = 0.85, σ = 0.32) 3.) ผลการศึกษาผลการเรียนรู้ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเกม คะแนนการพัฒนาการสัมพัทธ์สูงสุดที่นักเรียนได้ คิดเป็นร้อยละ 95.24, 94.12, 93.5 ของคะแนนเต็ม ตามล าดับ และมีคะแนนต่ำสุด คิดเป็นร้อยละ 68.42, 52.17, 50.00 ของคะแนนเต็ม 30 คะแนน ตามลำดับ โดยมีภาพรวมของการพัฒนาการสัมพัทธ์ของนักเรียนทั้งหมด 17 คน มีระดับพัฒนาสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 77.54 อยู่ในระดับพัฒนาสูง