การใช้สื่อวีดิทัศน์ประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การปั้นตุ๊กตาดินยิ้ม สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่

ชื่อเรื่องการค้นคว้าอิสระการใช้สื่อวีดิทัศน์ประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การปั้นตุ๊กตาดินยิ้ม สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่
ผู้เขียนปวันรัตน์ สายธรรม
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้)
อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระอาจารย์ ดร.พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์
ปีที่เผยแพร่2566
วันที่เผยแพร่30 ตุลาคม 2566

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติการปั้นตุ๊กตาดินยิ้มที่สอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ประกอบสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์ประกอบการปั้นตุ๊กตาดินยิ้มของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 105 คน จํานวน 5 ห้องเรียน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้สื่อวีดิทัศน์ เรื่อง การปั้นตุ๊กตาดินยิ้ม สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่ จํานวน 5 แผน สื่อวีดิทัศน์ประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การปั้นตุ๊กตาดินยิ้มสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศน์เชียงใหม่ จํานวน 1 ชุด มี 5 ขั้นตอน แบบประเมินผลการปฏิบัติการปั้นตุ๊กตาดินยิ้มที่สอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ประกอบสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ เชียงใหม่ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่และ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์
ประกอบการปั้นตุ๊กตาดินยิ้ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการปฏิบัติการปั้นตุ๊กตาดินยิ้มของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีเยี่ยม
2) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้วีดิทัศน์ประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การปั้นตุ๊กตาดินยิ้ม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด